ว่ากันด้วย Latex กับการเขียนบทความทางวิชาการ
ข้อดีของ Latex
1. สวยมากการจัดวางรูปภาพและสมการเป็นไปอย่างอัตโนมัติ
2.เวลา Submit paper ไม่ต้องห่วงเรื่องขอบ ว่าเราจะใส่รูปเกิน margin หรือไม่ ซึ่งตอนที่ผม Submit โดยใช้ Word Template นั้นมีขอบรูปเกินมา ยากแก่การตามแก้ไข และสมการนั้นก็ไม่สวยอีกต่างหาก :3
เมื่อ Generate สมการคร่าวๆ สมการ (B) นั้นได้จากการเขียน Latex ครับ ซึ่งสำหรับผมเเล้วดูสะอาดตา และเป็น font เป็นระเบียบสอดคล้องกับฟอนต์ที่ใช้ในบทความเป็นอย่างยิ่ง
(A)
(B)
หรือว่าจะเป็นในส่วน Algorithm ก็ทำได้สวยงามครับ เรียบร้อยคลีนๆครับ :) ซึ่งถ้าเขียนใน MS Word รับรองได้เลยว่ากด Space bar กันสนุกสนานเเน่ๆเลยครับ
ที่มารูปนะครับ [link]
ข้อเสียของ Latex
ข้อเสียก็มีบ้างครับ
1.สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานโปรแกรมมิ่งมาก่อนเลยลำบากนิดนึงครับที่จะนึกการทำงานของมัน การประกาศ แบบนี้ ถ้าใครเคยเขียนโปรเเกรมไม่ว่าจะ c++ java ฯลฯ หรืออะไรทำนองนี้จะร้องอ๋อ!! ทันทีครับ
\documentclass[conference]{IEEEtran}
\begin{document}
\usepackage{graphicx}\usepackage{amsmath}\usepackage{algorithm}\usepackage{algorithmic}..........
\end{document}
2.การเรียกใช้ Package ที่งงสลับซับซ้อน อย่างที่เกริ่นไปในข้อเสียข้อที่หนึ่งนะครับ ปัญหาบางอย่างเราก็ไม่รู้หรอกว่าจะเเก้ไขกันตรงนั้นอย่างไร ต้องอาศัยความสามารถในการค้นหาเฉพาะตัวกันไปครับ ถ้าเก่งภาษาอังกฤษ ค้นเดี๋ยวเดียวก็เจอทางแก้แล้ว
3.ไม่สามารถปรับเเต่งได้อย่างอิสระเหมือน MS word Libreoffice ทุกอย่างจะต้องตาม template ที่เราประกาศไว้เท่านั้นครับ
ปล. template ตามลิ้งนี้เลยครับบบ !!!!
แหล่ง Download และข้อควรระวังในการลง
สำหรับตัว compile ใน Windows ครับ เราเรียกว่า Miktex สามารถไปโหลดกันได้ตามลิ้งเลยครับ
http://miktex.org/download
และตัว Editor ที่ชื่อว่า Texmaker ครับ ลิงค์ตามข้างข่างนี้เลย
http://www.xm1math.net/texmaker/download.html
วิธีการลงก็ทั่วไปครับ ข้อควรระวังสำหรับคนที่ไม่อยากเข้าไป Config อะไรมาก ให้โหลด 32 บิททั้งคู่นะครับ เรื่องจากเจ้า Texmaker ไม่มี ตัว 64 บิท เวลา Edit เเล้ว Compile มันจะเรียก Miktex ข้าม Programfiles คนละตัวครับ หรือใคร Adv หน่อยก็เข้าไป Set Path ของเจ้าตัว Miktex ใน Texmaker ได้
เข้าโปรเเกรม Texmaker >> Options >> Configure Texmaker
ซึ่งหน้าตาเจ้า Texmaker คร่าวๆจะมาณนี้ครับ
1. เป็นส่วนที่เอาไว้เขียนโค๊ดครับ
2.เป็นหัวข้อ ซึ่งถ้าเราใช้คำสั่ง \section{*} มาเเล้วมันก็จะไปโผล่ตรงนั้นครับ ว่ามีหัวข้อ (Section) อะไรบ้าง
3.ตรงซ้ายมือเลือกตัว compiler ครับ จริงๆที่ผมใช้ Xelatex เพราะอะไรผมก็ลืม เเต่จำเอาไว้อย่างนึงว่า ลงมาเเล้วไม่ต้องเเก้ไขตัว Compiler ก็ถึงว่าใช้ได้ครับ เว้นเเต่บางคำสั่งมันจะบังคับให้ใช้เฉพาะ Compiler เป็นตัวๆไป ส่วนด้านขวาเป็นโปรเเกรมที่เราเอาไว้ดูผลลัพธ์ที่เป็น pdf ไฟล์ครับ ซึ่งสามารถเเก้ไขให้เป็นโปรเเกรม pdf viewer ที่เราถนัดก็ได้ครับ ยกตัวอย่างเช่นผมใช้ Foxit
เข้าไปแก้ที่
Texmaker >> Options >> Configure Texmakerใส่ path ของไฟล์ .exe ไปตามรูปครับ
พอทุกอย่างพร้อมเเล้วก็ลองเข้าไปลุยในหัวข้อถัดไปกันเลยครับผม
ตัวอย่างการเขียน Latex และปัญหาที่พบเจอบ่อยๆ
ตัวอย่างง่ายๆเลยครับ โดนอาจารย์ให้ไปเขียนเปเปอร์ด้วย Latex ส่งในอีกสองสามวัน จะมาให้นั่งอ่านตั้งเเต่การประกาศเอกสาร \document{} อะไรพวกนี้ ไม่ทันกินแน่นอนครับ ทางลัดนั้นก็มี
เราไปโหลด Template Latex มาครับ ยกตัวอย่างเช่นของ IEEE transaction ครับ จะได้ไฟล์มาประมาณนี้ครับ
ไฟล์ .tex คือไฟล์ที่เราจะเข้าไปเเก้ไขด้วยโปรแกรม Texmaker ในส่วนของ IEEEtrans.cls คือ style sheet ครับ หรือเรียกว่า template อะไรประมาณนั้นครับ (ปล่อยมันไว้อย่างนั้นเถอะ)
ลองเข้าไปสำรวจๆไฟล์ .tex กันก่อนครับ
Code คร่าวๆประมาณนี้ครับ
\begin{document}
%
% paper title
% can use linebreaks \\ within to get better formatting as desired
% Do not put math or special symbols in the title.
\title{Bare Demo of IEEEtran.cls for Conferences}
% author names and affiliations
% use a multiple column layout for up to three different
% affiliations
\author{\IEEEauthorblockN{Michael Shell}
\IEEEauthorblockA{School of Electrical and\\
Computer Engineering\\
Georgia Institute of Technology\\
Atlanta, Georgia 30332--0250\\
Email: http://www.michaelshell.org/contact.html}
\and
\IEEEauthorblockN{Homer Simpson}
\IEEEauthorblockA{Twentieth Century Fox\\
Springfield, USA\\
Email: homer@thesimpsons.com}
\and
\IEEEauthorblockN{James Kirk\\ and Montgomery Scott}
\IEEEauthorblockA{Starfleet Academy\\
San Francisco, California 96678-2391\\
Telephone: (800) 555--1212\\
Fax: (888) 555--1212}
}
.
..
...
....
\end{document}
ดูโครงสร้างคร่าวๆเเล้วผมรู้สึกเหมือนเขียนโปรเเกรมภาษา HTML หรือ XML อะไรแบบนั้นเลย
ผลลัพธ์ที่ได้ประมาณนี้ครับ
ดูจาก Code และผลลัพธ์ที่ได้แล้ว ที่นี้ง่ายแล้วครับ เร้าก็เเค่เข้าไปแก้ Text ในส่วนของข้อความที่มันขึ้นในไฟล์ pdf กับ code โดยถ้ามีอยู่ใน code อย่างเดียวให้อนุมานไปก่อนเลยครับว่ามันคือคำสั่ง Latex
ลองเล่นดูเลยละกัน !!!!
ผมลองเปลี่ยนโค๊ดตามนี้ดูนะครับ
\begin{document}\title{Bare Demo of IEEEtran.cls for Conferences}\author{\IEEEauthorblockN{XXXX XXXXXXXX}
\IEEEauthorblockA{111111111111 111111\\
2222222 22222222222\\
Email: xxxxx\_1999@hotmail.com}
\and\IEEEauthorblockN{Homer Simpson}\IEEEauthorblockA{Twentieth Century Fox\\Springfield, USA\\Email: homer@thesimpsons.com}
\and\IEEEauthorblockN{James Kirk\\and Montgomery Scott}\IEEEauthorblockA{Starfleet Academy\\
San Francisco, California 96678-2391\\Telephone: (800) 555--1212\\Fax: (888) 555--1212}}
ผลที่ได้ !!!! ง่ายใช่ไหมละครับ
หมายเหตุ \\ คือเว้นบรรทัดนะครับ ส่วน _ ใช้ไม่ได้ใน Latex ใช้ \_ เเทนครับ
ที่นี้ก็ลองเเก้ส่วนอื่นๆโดยสังเกตตามที่กล่าวมาเเล้วก่อนหน้านี้ครับ
พอถึงตอนนี้ก็สามารถ Edit ข้อความตามที่ Template มันให้มาได้ทั้งหมดเเล้วครับ
ในส่วนถัดไปจะเป็นการนำสมการทางคณิตศาสตร์ รูปภาพ ตาราง และอัลกอริธึมครับผม
ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น