เกริ่น
หลังจากที่เราได้ SSD คู่ใจเรามาเเล้ว ต้องขอบอกก่อนว่ามันโหลดวินโดวเร็วทะลุนรกมากๆเลย อีกทั้งโปรเเกรมอื่นๆที่เคยเรียกนานๆ ที่ผมใช้อยู่ประจำเช่น Matlab, MS ทุกตัว (ยิ่งตัวใหม่ๆยิ่งเรียกนาน), Photoshop, Light room เป็นต้น นอกจากนี้การเรียกใช้งานระหว่างโปรแกรมก็ไม่มีหน่วง
การเขียน/อ่านข้อมูลก็ทำได้เร็วเช่นกันที่ port SATA v.3 ให้ความเร็วอ่านเขียนกันถึง 550 MB/s , 500 MB/s ตามลำดับ
แต่ก็ใช่ว่ามันจะดีสวยหรูเสมอไป !!!
ด้วยอายุการใช้งานที่สั้นมากเมื่อเทียบกับ HDD โดยการเขียนข้อมูลของ SSD นั้นเป็นการอัดกระแสไฟเข้าไปยัง NAND Flash ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าเป็น NAND ประเภทไหน ซึ่งมีหลักๆอยู่สามประเภทได้แก่
SLC (Single Level Cell)
MLC (Muti Level Cell)
TLC (Tri Level Cell)
[อ่านเรื่อง NAND Flash เพิ่มเติม]
[การเขียนข้อมูลลง NAND Flash]
และนอกจากนี้ยังมีเกณฑ์ในการเลือกซื้อ SSD อีกประการนึงคือต้องคำนึงถึงระยะเวลารับประกัน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับค่า Endurance (ค่าความทนทาน) ซึ่งมักจะระบุใน Data sheet ซึ่งมี DWPD (Full Drive Writes Per Day) สำหรับระยะเวลาเวลาการรับประกันระยะสั้นๆ 3 - 5 ปี เช่น OCZ arc 100 , Sandisk Ultra II ซึ่ง OCZ นั้นได้กล่าวไว้ว่าสามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ต่อวันโดยเฉลี่ยที่ 20 GB [อ้างอิงสเปค]
ในอีกแง่หนึ่ง สมมติว่า SSD ขนาด 100GB ซึ่งรับประกับค่า DWPD = 1 นั้นหมายความว่า สามารถเขียนข้อมูลขนาด 100GB ให้กับ SSD ตลอดระยะเวลาการรับประกัน และถ้าหาก DWPD = 5 ก็หมายถึง SSD นั้นเขียนข้อมูลต่อวันได้ 500 GB ต่อวันตลอดอายุการใช้งานนั้นเอง
ซึ่งถ้าลองมาคำนวนกับเจ้า OCZ arc100 ขนาด 240 GB เมื่อกี้จะได้
DWPD = 20GB / 240 GB = 0.083 DWPD*
(ตรงนี้ยังไม่เเน่ใจว่าแปลมาถูกหรือไม่สำหรับการนิยามค่า DWPD ตาม datasheet ของ OCZ)
และอีกค่านึงที่กล่าวถึง Endurance ของ SSD คือค่า TBW (Terabytes Written) ซึ่งจะบอกว่า SSD ตัวนั้นสามารถเขียนข้อมูลลงไปได้มากแค่ไหนตลอดอายุการใช้งาน หรืออายุการรับประกัน !!
โดยยกตัวอย่างเช่น Samsung 850 EVO 250 GB มีค่า TBW = 75 [อ้างอิงเสปค] นั้นหมายความว่าตลอดระยะเวลาที่ทาง SS นั้นรับประกัน SSD ตัวนี้สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ 75 TB ด้วยกัน
การแปลง TBW --> DWPD นั้นใช้สมการดังนี้
DWPD = (TBW * 1024)/(DayWarranty*Capacity)
ซึ่งเจ้า SS 850 Evo นั้นมีค่า DWPD ที่ = (75*1024)/(5*365*250) = 0.16 DWPD
ในส่วนของโปรแกรมที่ช่วยมอนิเตอร์การใช้งานดังกล่าวคือ CrystalDiskInfo [ดาวน์โหลด]
ซึ่งจะบอกว่า Host Writes ไปแล้วทั้งสิ้นเท่าไหร่
[อ้างอิงเรื่องค่า Endurance]
[อ้างอิงการแปลงค่า DWPD TBW]
[เครดิตรูปจากOverclockZone]
การปรับแต่งเพื่อยืดอายุการใช้งาน SSD
การเรียงลำดับตามไกด์นี้เป็นการเรียงเเบบไม่มีรูปแบบ เพราะผู้เขียนค่อยๆทำทีละอย่างเมื่อคิดออกหรือว่ารู้สึกว่ากำลังมีการเขียนข้อมูลลงใน ไดร์ฟ C ซึ่งเป็น SSD อยู่
1. เริ่มต้นด้วยการ Disable การเขียน cache file
ลงไปในไดร์ฟ SSD ของเราก่อน ด้วยการ Start > Device Manager
[เครดิต]
1.1. เลือก SSD drive ด้วยการคลิกขวา Properties และไปติ๊กเครื่องหมายออกตามภาพครับ จากนั้นก็ restart
2. การย้าย Cache file ของ Browser Mozilla Firefox และ Google Chrome ไปยัง HDD
2.1 สำหรับ Mozilla Firefox ทำได้ดังนี้ [เครดิต]
- เปิด Browser แล้วพิมพ์ about:config จากนั้นตอบตกลงเงื่อนไขความเสี่ยง
- คลิกขวาตรงไหนก็ได้ และเลือก New > String (ใหม่ > สตริง)
- ใส่ค่า browser.cache.disk.parent_directory ดังรูป
- จากนั้นใส่ที่อยู่ของ Cache ของ Drive ที่เราจะย้ายไป เช่น D:\BrowserCache เป็นต้น
- จากนั้นเพิ่ม browser.cache.disk.enable และ value เป็น true (ซึ่งอาจจะมีอยู่เเล้วแต่ค่าเป็น false ให้ทำการเปลี่ยนครับ)
2.2 สำหรับ Google Chrome ทำได้ดังนี้ กด Start พิมพ์ Google Chrom... โดยมันจะขึ้นเป็นโลโก้ Chrome ซึ่งเป็น Shortcut ของระบบที่สร้างมาให้หลังจากที่ติดตั้งเสร็จเเล้ว ให้ทำการคลิกขวาเลือก
"Open file location" ซึ่งจะเป็นที่อยู่ของ shortcut นั้น จากนั้นคลิกขวาที่ shortcut อีกที เลือก properties
จากนั้นไปที่ Shortcut tab ตรง Target เพิ่ม
"C:\Program Files (x86)\Google\Chrome\Application\chrome.exe" --disk-cache dir="D:\AppData\GoogleChromeCache" --disk-cache-size=104857600
โดยที่ตัวเอียงนั้นเป็นข้อความที่มีอยู่เเล้ว ส่วนตัวหนาคือส่วนที่นำไปเพิ่มเติม และตัวที่ขีดเส้นใต้คือ location ที่เราต้องการจะย้าย cache ไปนั่นเอง [เครดิต]
คลิกขวาที่ Desktop ไปที่ tab location และเลือก Location ที่เราต้องการจะย้ายครับ ในส่วนนี้ยังสามารถย้าย โฟลเดอร์อื่นๆใน C:\user\{ชื่อ User เรา} ได้ด้วยวิธีการเดียวกันครับ [เครดิต]
4. ปิด Recycle ฺBin เฉพาะไดร์ฟ SSD ครับ ด้วยการคลิกขวาที่ถังขยะ เลือก Properties เเละเลือกปิดเฉพาะไดร์ฟที่เราต้องการ [เครดิต]
5. ปิด function Hibernate และห้ามทำการ Defrag หรือ Optimize Disk เพราะใน HDD จะเป็นการเรียงข้อมูลลงไปใน คลัสเตอร์เพื่อให้ง่ายแก่การอ่านและลดระยะเวลาในการ sweep ของหัวอ่าน HDD ครับ ส่วนของ SSD นั้นไม่จำเป็น
6. เปิดการใช้งาน TRIM [อ่านเพิ่มเติม]
การเปิด TRIM สามารถทำได้โดย Start > Cmd คลิกขวา run as admin
จากนั้นทำการเช็คด้วยคำสั่ง fsutil behavior query disabledeletenotify
ซึ่งจพให้ผลลัพธ์ เเค่ 0 และ 1 โดยหมายความว่า TRIM นั้นถูกเปิด = 0 และ ปิด = 1
โดยเราสามารถเปิดฟังก์ชั่นได้ดังนี้
fsutil behavior set disabledeletenotify 0
และปิด
fsutil behavior set disabledeletenotify 1
fsutil behavior set disabledeletenotify 0
และปิด
fsutil behavior set disabledeletenotify 1
เสร็จเรียบร้อยครับ :)